ดาวศุกร์

ดาวศุกร์ ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อันดับ 6 ในระบบสุริยะ

ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ชั้นใน ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับ 2 เป็น ดาวเคราะห์ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ในระบบสุริยะ มีพื้นผิวที่คล้ายโลกมาก บางครั้งจึงเรียกว่าเป็น “ดาวน้องสาวของโลก” และมีลักษณะวงโคจรอยู่ใกล่เคียงกับโลกของเรามากที่สุด และ ดาวศุกร์ ยังมีมวลขนาดความหนาแน่น และแรงโน้มถ่วงใกล้เคียงกับโลก รวมทั้งยังมีโครงสร้างภายในที่คล้ายคลึงกันอย่างมาก ดาวศุกร์ ฉายา ว่า  ‘’ ฝาแฝดของโลก ‘’ รวมถึงยังเป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างเป็นอันดับที่ 2 ในช่วงเวลากลางคืน จึงเป็นที่มาของชื่อ Venus ดาว ที่ตั้งตามชื่อเทพเจ้าแห่งความรักและความงาม ดาวศุกร์ มักหมุนรอบตัวเองได้ช้ามาก ในหนึ่งวันของดาวศุกร์นั้น จะยาวนานถึง 243 วันของโลก 

และมักจะหมุนไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งจะตรงกันข้ามกันกับ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ที่มักจะใช้เวลาในการ โคจรรอบดวงอาทิตย์ เพียง 225 วัน จึงทำให้บนดาวศุกร์ เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิตย์ตะวันออก และทิศตะวันตก การหมุนรอบตัวเองของดาวศุกร์ที่ช้ามากนั้น ส่งผลให้ดาวศุกร์ไม่สามารถสร้างสนามแม่เหล็กที่แก่นกลางได้ ดาวศุกร์ไม่มีดวงจันทร์บริวาร พื้นผิวของดาวศุกร์ถูกปกคลุมไปด้วยภูเขาไฟ รอยแยก และหุบเหวต่างๆ ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวที่แห้งแล้งมาก ไม่มีน้ำหรือสิ่งมีชีวิตใดๆ บนดาวเคราะห์นี้

โครงสร้างภายในดาวศุกร์

ลักษณะของดาวศุกร์ และโครงสร้างของ ดาวศุกร์ ประกอบด้วย แกนกลาง (core) อยู่ตรงกลางของดาวศุกร์ ประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิลเป็นหลัก มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร อุณหภูมิภายในแกนกลางสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส และ ชั้นแมนเทิล (mantle) อยู่รอบแกนกลาง ประกอบด้วยหินซิลิเกตเป็นหลัก มีความหนาประมาณ 2,000 กิโลเมตร และ เปลือกแข็ง (crust) อยู่ชั้นนอกสุด ประกอบด้วยหินซิลิเกตเป็นหลัก มีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตร

ดาวศุกร์
พื้นผิวดาวศุกร์

พื้นผิวของดาวศุกร์

ดาวศุกร์คือ ดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุดใน ระบบสุริยะจักรวาล ด้วยอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงถึง 464 องศาเซลเซียส (863 องศาฟาเรนไฮต์) พื้นผิวของดาวศุกร์จึงถูกปกคลุมไปด้วยหินหนืดและลาวาที่ไหลจากภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ภูเขาไฟบนดาวศุกร์มีขนาดใหญ่กว่าบนโลกมาก ภูเขาที่สูงที่สุดบนดาวศุกร์คือ แม็กซเวลล์มอนทีส (Maxwell Montes) สูงถึง 11 กิโลเมตร (7 ไมล์) มากกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์บนโลกถึง 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) 

นอกจากภูเขาไฟแล้ว พื้นผิวดาวศุกร์ยังมีร่องลึกและที่ราบกว้างใหญ่ ซึ่งร่องลึกบน ดาวศุกร์ เกิดจากแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่มาก แรงดึงดูดนี้ดึงดูดพื้นผิวของดาวศุกร์ให้ยุบตัวลงเป็นร่องลึก โดยร่องลึกที่ใหญ่ที่สุดบน 

ดาวศุกร์ คือ เบเรซิลิส (Berezillius Chasma) ยาวถึง 1,000 กิโลเมตร (620 ไมล์) และลึก 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) และที่ราบบนดาวศุกร์เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ หรือไหลบ่าของลาวา พื้นที่ราบขนาดใหญ่บนดาวศุกร์คือ อะโฟรไดต์เทอร์รา (Aphrodite Terra) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 30% ของพื้นผิวดาวศุกร์ โดยลักษณะพื้นผิวของดาวศุกร์ไม่มีน้ำ 

และชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 96% ที่เหลือเป็นไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน และเฮลิเมียม บรรยากาศที่หนาแน่นของดาวศุกร์ ทำให้พื้นผิวของดาวร้อนขึ้นจากการกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์

ดาวศุกร์

ข้อมูลทั่วไปของดาวศุกร์

  • ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 12,104 กม.
  • ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 108.21 ล้าน กม.
  • การโคจรรอบดวงอาทิตย์ 224.70 วัน
  • การหมุนรอบตัวเอง 243.02 วัน
  • อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงถึง 464 องศาเซลเซียส
  • ข้อมูลดาวศุกร์ คือไม่มีดาวบริวาร
พื้นผิวดาวศุกร์

ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์

ดาวศุกร์ มีภูเขาไฟที่เกิดการปะทุอย่างรุนแรง และคอยเติมแก๊สให้กับชั้นบรรยากาศจนเกิดความดันบรรยายกาศที่สูงกว่าโลกถึง 92 เท่า ซึ่งสามารถเทียบได้กับความดันของใต้น้ำในทะเลได้ถึง 900 เมตร และส่วนใหญ่ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 96.5 และแก๊ซไนโตรเจนปะปนอยู่ที่ 3.5 มีชั้นเมฆอยู่หลายชั้นที่ประกอบด้วย แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือ กรดกำมะถัน ที่ทำให้ชั้นบรรยากาศดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์และทำให้ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ร้อนขึ้น จึงเกิดสภาวะเรือนกระจกอย่างกู่ไม่กลับ ซึ่งส่งผลให้ ดาวศุกร์ ลักษณะ อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงถึง 464 องศาเซลเซียส ร้อนพอที่จะหล่อหลอมตะกั่วได้เลย และดาวศุกร์มีสนามแม่เหล็กบางๆ ไว้คอยปกป้องดาวจากลมสุริยะทำให้ ชั้นบรรยากาศ ของดาวศุกร์ยังคงหนานแน่นอยู่เสมอ

การสังเกตการณ์ดาวศุกร์

การสังเกตการณ์ดาวศุกร์

ดาวศุกร์ หรือ ดาววีนัส เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน และเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุดใน วงโคจรระบบสุริยะ เราสามารถสังเกตการณ์ดาวศุกร์ได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งดาวศุกร์ไม่เคยปรากฏอยู่กลางท้องฟ้าหรือช่วงเวลากลางดึก เราจึงสามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงเวลา 3 ชั่วโมง หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าหรือก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเท่านั้น และดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ( transit of Venus) เกิดขึ้นเมื่อโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวศุกร์ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้เพียงครั้งเดียวทุกๆ 105.5 ถึง 121.5 ปี ดาว ศุกร์ จะปรากฏเป็นดวงกลมดำตัดกับพื้นสว่างของดวงอาทิตย์ ใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมงนับจากเริ่มต้นจนสิ้นสุดปรากฏการณ์

ติดตามข่าวสารได้ที่นี่ : https://AstronomyMoon.com

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม : ดาวพุธ

ศึกษาเกี่ยวกับ : ระบบสุริยะจักรวาล