ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์ที่ 5 ในระบบสุริยะ

ดาวพฤหัสบดี เป็น ดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะ เป็นลำดับที่ 5 มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 143,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 11 เท่าของโลก มวลของ ดาวพฤหัสบดี ประมาณ 318 เท่าของมวลโลก ทำให้ดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ในระบบสุริยะรวมกันถึง 71% ดาวพฤหัสบดีเป็น ดาวเคราะห์แก๊ส ประกอบด้วยไฮโดรเจนประมาณ 75% และฮีเลียมประมาณ 24% แก๊สทั้งสองชนิดนี้ถูกบีบอัดเข้าด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลจนมีความหนาแน่นสูงมาก 

ดาวพฤหัสบดีไม่มีพื้นผิวแข็งเหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ในระบบสุริยะ ลักษณะของดาวพฤหัสบดี มีบรรยากาศที่หนาแน่นและหลากหลาย มีชั้นเมฆหลายชั้นเรียงซ้อนกัน แต่ละชั้นมีสีสันที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ หนึ่งในปรากฏการณ์ที่โดดเด่นที่สุดของดาวพฤหัสบดีคือ “จุดแดงใหญ่” (Great Red Spot) ซึ่งเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่กว่าโลก มีอายุยาวนานมาแล้วกว่า 300 ปี ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์เป็นบริวารมากถึง 79 ดวง ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต 

ดวงจันทร์ทั้งสี่ดวงนี้ถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ในปี ค.ศ. 1610 ดาวพฤหัสบดี มีวงแหวนบาง ๆ ประกอบด้วยฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก วงแหวนของดาวพฤหัสบดีถูกค้นพบครั้งแรกโดยยานอวกาศ Voyager 1 ในปี ค.ศ. 1979 ดาวพฤหัสบดีเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ห้าในท้องฟ้ายามราตรี สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในช่วงฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ และฤดูหนาวของซีกโลกใต้

โครงสร้างภายในของดาวพฤหัสบดี

พื้นผิวดาวพฤหัส เป็น ดาวเคราะห์ ก๊าซขนาดใหญ่ ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก อาจมีธาตุหนักอื่นๆ เช่น เหล็ก นิกเกิล และซิลิคอน เป็นส่วนประกอบอยู่เล็กน้อย และลึกลงไปของดาวนั้นมีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น จนสามารถบีบอัดแก๊สไฮโดรเจนให้กลายเป็นของเหลวได้เลยทันที จึงทำให้ดาวพฏหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่มีใจกลางมหาสมุทรไฮโดรเจนที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และหาก ดาวพฤหัสบดี มีความดันสูงมากกว่านั้น อาจทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม จนทำให้กลายเป็นของเหลวที่สามารถนำไฟฟ้าได้เหมือนกับโลหะ ที่เรียกว่า โลหะไฮโดรเจน (Metallic Hydrogen) หมุนเวียนอยู่ในตัวดาวและสร้างสนามแม่เหล็กที่รุนแรงออกมาได้

ข้อมูลทั่วไปของดาวพฤหัสบดี

  • ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 142,984 กม.
  • ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 778.6 ล้าน กม.
  • การโคจรรอบดวงอาทิตย์ 11.85 ปีของโลก
  • การหมุนรอบตัวเอง 9.9 ชั่วโมง
  • อุณหภมิพื้นผิวเฉลี่ย -110 องศาเซลเซียส
  • ดาวบริวาร 79 ดวง
ดาวพฤหัสบดี
วงแหวนดาวพฤหัสบดี

วงแหวนของดาวพฤหัสบดี

วงแหวนดาวพฤหัส ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นฝุ่นหินและเศษหิน มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมครอนไปจนถึงไม่กี่เซนติเมตร ที่ไม่สะท้อนแสง จึงทำให้มองเห็นได้ยาก ซึ่งคาดเดาว่าเกิดจากอุกกาบาตในอวกาศชนกันกับดวงจันทร์จนทำให้เกิดเศษฝุ่นกระจัดกระจายไปรอบๆ และโคจรไปยังดาวพฤหัสบดี

ชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดี นับว่ามีลักษณะที่ปรากฏเป็นแถบเมฆหลายๆแถบ ที่ขนานไปกับเส้นศูนย์กลางของดาว ซึ่งเกิดได้จากธาตุองค์ประกอบหลายๆอย่างที่แตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ เมฆชั้นบนที่มาจากน้ำแข็งแอมโมเนีย และเมฆชั้นกลางที่เป็นผลึกของแอมโมเนียมไฮโดรซัลไฟด์ และชั้นล่างสุดที่เป็นน้ำแข็งและไอน้ำ โดยแต่ละตำแหน่งของดาวพฤหัสบดีจะมีสีแถบของเมฆที่แตกต่างกัน โดยเมฆแถบสีอ่อน 

มีชื่อเรียกว่า แถบโซน (Zone) ที่เกิดจากเมฆแอมโมเนียที่ถูกปกคลุมอย่างหนาแน่น และเมฆแถบสีเข้ม ที่มีชื่อเรียกว่า แถมเข็มขัด (Belt) มีชั้นเมฆที่บอบบางกว่าจึงสามารถมองเห็นเมฆที่อยู่ต่ำกว่าได้ และดาวพฤหัสบดี ยังมีลักษณะที่โดนเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ จุดแดงใหญ่ (The Great Red Spot) ที่มีขนาดประมาณ 20,000 กิโลเมตร ใหญ่กว่าโลกของเรา 1.2 เท่า สูงประมาณ 12,000 กิโลเมตร 

พายุนี้หมุนรอบตัวเองประมาณ 6 วันของโลก หรือ 14 วัน ของดาวพฤหัสบดี ซึ่งแรงลมภายในจุดแดงใหญ่นั้นรุนแรงมาก ความเร็วลมสามารถสูงถึง 430-680 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จุดแดงใหญ่ถูกเฝ้าสังเกตมานานกว่า 300 ปีแล้ว โดยบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในบันทึกของกาลิเลโอ กาลิเลอี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ที่ได้สังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดีผ่านกล้องโทรทรรศน์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1610 ซึ่งปัจจุบันนี้ พายุลูกนี้เริ่มมีขนาดที่เล็กลง และน่าจะเริ่มสลายตัวไปภายในระยะเวลา 20 ปี

สนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสบดี

สนามแม่เหล็ก ของดาวพฤหัสบดีเป็นสนามแม่เหล็กที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยพบในระบบสุริยะ สนามแม่เหล็กนี้เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลเวียนภายในแกนกลางของดาวพฤหัสบดี ซึ่งประกอบด้วยเหล็กและนิเกิลหลอมเหลว สนามแม่เหล็กนี้แผ่ขยายออกไปรอบๆ ดาวพฤหัสบดีเป็นวงแหวนที่เรียกว่า “แมกนีโตสเฟียร์” โดยแมกนีโตสเฟียร์ของดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่มาก มีขนาดประมาณ 700 ล้านกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าวงโคจรของดาวเสาร์ถึง 2 เท่า แมกนีโตสเฟียร์นี้ช่วยปกป้องดาวพฤหัสบดี

และดวงจันทร์จากอนุภาคพลังงานสูงจากลมสุริยะ อนุภาคพลังงานสูงเหล่านี้สามารถทำลายชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ได้ นอกจากนี้ แมกนีโตสเฟียร์ของดาวพฤหัสบดียังทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น แสงออโรร่า แสงออโรร่าเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคพลังงานสูงจากลมสุริยะชนกับชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี อนุภาคเหล่านี้จะชนกับโมเลกุลของก๊าซในชั้นบรรยากาศทำให้เกิดการเปล่งแสง

ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี

ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี มีวงโคจรที่มีลักษณะเป็นทรงกลม อยู่ในวงโคจรที่เกือบเป็นวงกลมรอบดาวพฤหัสบดี และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีไม่มากนัก บริวารของดาวพฤหัสบดี ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด และคัลลิสโต ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “ดาวบริวารของกาลิเลโอ”

ดาวพฤหัสบดี

ไอโอ (Io)

ไอโอ io คือ เป็นดวงจันทร์ที่อยู่ถัดมาจากดาวพฤหัสบดีมากที่สุด และมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 3,643 กิโลเมตร เป็นดาวบริวารที่เล็กที่สุดในบรรดาดาวบริวารของ กาลิเลโอ แต่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรณีวิทยามากที่สุด และเป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีภูเขาไฟปะทุอยู่ ซึ่งเกิดจากแรงไทดัล ที่ส่งผลให้เกิดความร้อนภายใน

ยูโรปา (Europa)

ยูโรปา เป็นดวงจันทร์ที่อยู่ถัดมาจากไอโอ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,121 กิโลเมตร เป็นดาวบริวารที่มีพื้นผิวเรียบเนียนที่สุด ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง เชื่อกันว่าใต้พื้นผิวของยูโรปาอาจมีมหาสมุทรขนาดใหญ่อยู่ภายใน

แกนิมีด (Ganymede)

แกนิมีด เป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ถัดมาจากยูโรปามี เส้นผ่านศูนย์กลาง 5,262 กิโลเมตร มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวศุกร์ แกนิมีดมีสนามแม่เหล็กของตัวเอง และคาดว่ามีชั้นบรรยากาศบางๆ อยู่รอบๆ

คัลลิสโต (Callisto)

คัลลิสโต อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีมากที่สุด ในบรรดาดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวง  มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,821 กิโลเมตร เป็นดาวบริวารดวงใหญ่เป็นอันดับสองใน ระบบสุริยะ และเป็นดาวที่เก่าแก่ และมีร่องรอยพื้นผิวขรุขระเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตเยอะที่สุด

ติดตามข่าวสารได้ที่นี่ : https://AstronomyMoon.com

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม : ดาวอังคาร

ศึกษาเกี่ยวกับ : ระบบสุริยะจักรวาล